พ่อมีเมียน้อย เมียน้อยมีลูก เกิดมาพ่อให้ใช้นามสกุล แล้วพ่อกับแม่ซึ่งเป็นเมียหลวงจดทะเบียนสมรสต้องการรับเด็กคนนี้เป็นบุตรบุญธรรมสามารถทำได้หรือไม่ครับ
ในกรณีนี้สามารถทำได้ ตาม พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๓๓ ในมาตรา ๑๙ ได้กล่าวว่า การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีการทดลองเลี้ยงดูและได้รับอนุมัติให้รับเป็นบุตรบุญธรรมตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ แต่ได้ให้ข้อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดูไว้ในวรรคสองของมาตรา ๑๙ ว่า มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ขอรับเด้กเป็ยบุตรบุญธรรมเป็นพี่ร่วมบิดามารดา พี่รวมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม หรือเป็นบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งกรณีนี้ในกฎกระทรวง (ฉบับที่๙ )พ.ศ. ๒๕๔๓ ในข้อ ๒๗ (๓) ได้กล่าวว่าผู้ซึ่งขอรับบุตรหรือบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรม และคู่สมรสนี้ได้จดทะเบียนสมสรมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือจดทะเบียนสมรสน้อยกว่าหกเดือน แต่เด้กเคยอยู่ร่วมกับคู่สมรสดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ในกรณีนี้เด็กเป็บุตรเป็นลูกของเมียน้อย แต่สามีให้ใช้นามสกุล ต่อมาทางสามีและเมียหลวงที่จดทะเบียนต้องการรับบุตรของเมียน้อยเป็ยบุตรบุญธรรม ดังนั้นเมื่อสามีและเมียน้อยให้ความยินยอมให้เด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ก็สามารถทำได้โดยได้รับข้อยกเว้นในการทดลองเลี้ยง ตาม พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (ก) หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม 1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี 2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย 3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก 3.1 บิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา 3.2 บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง 3.3 กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ 3.4 กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั้งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว 4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ 4.1 คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ 4.2 คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี 5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น (ข) ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 1. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ 1.1 ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตแห่งใดก็ได้ 1.2 ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม 2. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ 2.1 ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการพัฒนาสังคมจังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม 2.2 เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว 2.3 ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม 2.4 เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย ดังนั้น ถ้าบิดาและมารดาซึ่งเป็นภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ประสงค์จะจดทะเบียนรับบุตรของภริยาน้อยเป็นบุตรบุญธรรมนั้น หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นก็สามารถไปขอจดทะเบียนรับบุตรภริยาน้อยเป็นบุตรบุญธรรมได้