ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ
สืบเนื่องจากประกาศกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ประกาศ ณ 30 เม.ย. 52
จากประกาศฉบับนี้...ผมได้อ่านและพยายามทำความเข้าใจแล้วรู้สึกเป็นห่วง..จากที่ผมได้เห็นจริงที่อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร
ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงรับขึ้นทะเบียนผู้พิการ (ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.53นี้) ผมเห็นผู้ที่มาขอขึ้นทะเบียนผู้พิการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว..พบว่า มีจำนวนผู้พิการเพิ่มขึ้นอย่างมาก...มีแม้กระทั่งผู้สูงอายุ (ผมก็คิดในใจว่า..คนเราเกิดมาถ้าอายุมากขึ้นแล้ว สังขารมันก็ไม่เที่ยง..ทุกอย่างหย่อนยานไปหมด ยกเว้นหูจะตึงมากขึ้น การเดินไปมาก็ลำบาก..ไหนกลายมาเป็นผู้พิการไปได้..) ตรงนี้อาจเป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นได้นะครับ..ผมสงสัยตรงที่สำนักงานพัฒนาสังคม ฯ สกลนคร ให้โรงพยาบาลเป็นหน่วยออกบัตรประจำตัวผู้พิการได้ (OneStopService)
กรณีหูตึง..ต้องมีเครื่องวัดการได้ยินด้วยไม่ใช่หรือ..ถึงจะสามารถออกบัตรผู้พิการได้..แต่ทว่า..ที่นี่อาจให้โดยคิดแค่ว่า..ช่วยสงเคราะห์คนแก่ไป..ได้เบี้ยสูงอายุ+เบี้ยพิการอีก ก็ดีนะช่วยเหลือกันไป (ผมคิดว่า..หากผู้สูงอายุที่ได้บัตรผู้พิการเพียงเพราะสังขารมันเป็นไป..ก็น่าเป็นห่วงงบประมาณจากรัฐ ที่จะหามาช่วยเหลือครับ)
กรณีหูตึงนั้น จะต้องมีใบรับรองความพิการที่ออกจากแพทย์มาเพื่อทำการจดทะเบียนเป็นคนพิการ ซึ่งแพทย์ผู้ออกใบรับรองความพิการจะต้องเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา ถ้ากรณีแพทย์ได้ใช้ดุลยพินิจและลงความเห็นว่าให้การรังรองเป็นผู้พิการแล้วนั้น ก็ต้องถือว่าผู้นั้นเป็นผู้พิการตามระเบียบของทาง พ.ก. และถือเป็นผู้มาสิทธิได้รับเบี้ยคนพิการได้
?ใบรับรองความพิการรับรองจะต้องออกโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลเอกชนที่เลขาธิการประกาศกำหนด เว้นแต่กรณีสภาพความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการก็ได้(ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ และการออกบัตร การกำหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตรประจำตัวคนพิการ พ.ศ. 2552)
ในกรณีนี้ไม่ใช่ความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์จะต้องใช้วิชาชีพแพทย์ในการตรวจถึงจะทราบได้ ถ้าไม่เป็นความจริงผู้ออกใบรับรองความพิการต้องรับผิดชอบ